วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คำถาม


1.ระบบสุริยะ หมายถึง อะไร

2.ดาวเคราะห์ดวงใดที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลกมากที่สุด

3. ผลกระทบของพายุสุริยะต่อโลกมีอะไรบ้าง

4. ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง เกิดจากอิทธิพลจากสิ่งใด

5. ดาวเทียมดวงใดเป็นดาวเทียมดวงแรกที่ส่งขึ้นสู่อวกาศ

6. ดาวเทียมข้อใดเป็นดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของประเทศไทย

7. กล้องบนพื้นโลกส่องสังเกตวัตถุท้องฟ้าได้ไกลประมาณเท่าใด

8. ทฤษฎีใดที่ใช้อธิบายการเกิดเอกภพ

9. จุดมุ่งหมายของการส่งยานอวกาศไปสำรวจดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ คืออะไร

10. เพราะเหตุใดดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ จึงโคจรรอบดวงอาทิตย์

พายุสุริยะ

พายุสุริยะ




พายุสุริยะ (อังกฤษ: Solar storm) เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เกิดจากการที่ผิวดวงอาทิตย์ระเบิดขึ้นมาที่เรียกว่า "การระเบิดลุกจ้า" ซึ่งทำให้อนุภาคประจุไฟฟ้าพุ่งออกมาจำนวนมหาศาล ประจุไฟฟ้าที่พุ่งออกมานี้จะรบกวนระบบการสื่อสารมีผลทำให้การสื่อสารระยะไกลเป็นอัมพาต ทำให้เครื่องบินไม่สามารถติดต่อกับหอบังคับการได้ โทรศัพท์มือถือใช้งานไม่ได้รวมไปถึงดาวเทียมเสียหาย การทำนายความรุนแรงของพายุสุริยะสามารถทำได้โดยตรวจสอบจุดมืดดวงอาทิตย์ เนื่องจากจุดดำเกิดจากความแปรปรวนของสนามแม่เหล็ก เมื่อมีจุดมืดมากขึ้นก็จะส่งผลให้อนุภาคกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้เกิดความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น

พายุสุริยะจะส่งผลกระทบต่อสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้ส่งผลต่อโทรทัศน์ สัญญาณโทรศัพท์ และระบบนำทางของเครื่องบินหรือเรือเดินสมุทร นอกจากนี้ยังทำให้ท่อส่งน้ำมันผุกร่อนได้เร็วกว่าปกติมาก และขณะที่สนามแม่เหล็กโลกถูกแรงของพลาสมาทั้งดึงและดันอยู่ จะทำให้ประจุไฟฟ้าปริมาณมากเกิดขึ้นในอวกาศ อาจทำให้ดาวเทียมเกิดประจุไฟฟ้าบริเวณรอบนอก กระแสฟ้าที่เกิดขึ้นนี้อาจถูกปล่อยเข้าไปภายในดาวเทียมและอาจทำให้เกิดความผิดปกติหรือเสียหายได้ แต่ถ้าพลาสมาเดินทางมายังโลกเป็นปริมาณเยอะ (การปลดปล่อยก้อนมวลสารจากโคโรนา) จะทำให้ส่งผลต่อระบบการส่งกระแสไฟฟ้าบนโลก

บิกแบง

Big Bang


       บิกแบง (อังกฤษ: Big Bang, "การระเบิดครั้งใหญ่") เป็นแบบจำลองของการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพในจักรวาลวิทยาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และจากการสังเกตการณ์ที่แตกต่างกันจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปใช้คำนี้กล่าวถึงแนวคิดการขยายตัวของเอกภพหลังจากสภาวะแรกเริ่มที่ทั้งร้อนและหนาแน่นอย่างมากในช่วงเวลาจำกัดระยะหนึ่งในอดีต และยังคงดำเนินการขยายตัวอยู่จนถึงในปัจจุบัน
       ฌอร์ฌ เลอแม็ทร์ นักวิทยาศาสตร์และพระโรมันคาทอลิก เป็นผู้เสนอแนวคิดการกำเนิดของเอกภพ ซึ่งต่อมารู้จักกันในชื่อ ทฤษฎีบิกแบง ในเบื้องแรกเขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับอะตอมแรกเริ่ม (hypothesis of the primeval atom) อเล็กซานเดอร์ ฟรีดแมน ทำการคำนวณแบบจำลองโดยมีกรอบการพิจารณาอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ต่อมาในปี ค.ศ. 1929 เอ็ดวิน ฮับเบิลค้นพบว่า ระยะห่างของดาราจักรมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงสัมพันธ์กับการเคลื่อนไปทางแดง การสังเกตการณ์นี้บ่งชี้ว่า ดาราจักรและกระจุกดาวอันห่างไกลกำลังเคลื่อนที่ออกจากจุดสังเกต ซึ่งหมายความว่าเอกภพกำลังขยายตัว ยิ่งตำแหน่งดาราจักรไกลยิ่งขึ้น ความเร็วปรากฏก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นหากเอกภพในปัจจุบันกำลังขยายตัว แสดงว่าก่อนหน้านี้ เอกภพย่อมมีขนาดเล็กกว่า หนาแน่นกว่า และร้อนกว่าที่เป็นอยู่ แนวคิดนี้มีการพิจารณาอย่างละเอียดย้อนไปจนถึงระดับความหนาแน่นและอุณหภูมิที่จุดสูงสุด และผลสรุปที่ได้ก็สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลจากการสังเกตการณ์ ทว่าการเพิ่มของอัตราเร่งมีข้อจำกัดในการตรวจสอบสภาวะพลังงานที่สูงขนาดนั้น หากไม่มีข้อมูลอื่นที่ช่วยยืนยันสภาวะเริ่มต้นชั่วขณะก่อนการระเบิด ลำพังทฤษฎีบิกแบงก็ยังไม่สามารถใช้อธิบายสภาวะเริ่มต้นได้ มันเพียงอธิบายกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเอกภพที่เกิดขึ้นหลังจากสภาวะเริ่มต้นเท่านั้น
       คำว่า "บิกแบง" ที่จริงเป็นคำล้อเลียนซึ่งเกิดขึ้นเมื่อนักดาราศาสตร์ชื่อ เฟรด ฮอยล์ ตั้งใจดูหมิ่นและทำลายความน่าเชื่อถือของทฤษฎีที่เขาเห็นว่าไม่มีทางเป็นจริง ในการออกอากาศทางวิทยุครั้งหนึ่งเมื่อปี ค.ศ. 1949 ในเวลาต่อมา ฮอยล์ได้ช่วยศึกษาผลกระทบของนิวเคลียร์ในการก่อเกิดธาตุมวลหนักที่ได้จากธาตุซึ่งมีมวลน้อยกว่า อย่างไรก็ดี การค้นพบรังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาลในปี ค.ศ. 1964 ยิ่งทำให้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ไม่สามารถปฏิเสธทฤษฎีบิกแบงได้

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ


ระบบสุริยะ (อังกฤษSolar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อยวัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์
โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส(เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต
กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย
ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน
นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส
มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก
สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ดาวเทียม


ดาวเทียม

  

       ดาวเทียม (อังกฤษ: satellite) คือ สิ่งประดิษฐ์ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ที่สามารถโคจรรอบโลก โดยอาศัยแรงดึงดูดของโลก ส่งผลให้สามารถโคจรรอบโลกได้ในลักษณะเดียวกันกับที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก และโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ วัตถุประสงค์ของสิ่งประดิษฐ์นี้เพื่อใช้ ทางการทหาร การสื่อสาร การรายงานสภาพอากาศ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์เช่นการสำรวจทางธรณีวิทยาสังเกตการณ์สภาพของอวกาศ โลก ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวอื่นๆ รวมถึงการสังเกตวัตถุ และดวงดาว ดาราจักร ต่างๆ

       ดาวเทียมได้ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2500 ดาวเทียมดังกล่าวมีชื่อว่า "สปุตนิก (Sputnik)" โดยรัสเซียเป็นผู้ส่งขึ้นไปโคจร สปุตนิกทำหน้าที่ตรวจสอบการแผ่รังสีของชั้นบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟีย ในปี พ.ศ. 2501 สหรัฐได้ส่งดาวเทียมขึ้นไปโคจรบ้างมีชื่อว่า "Explorer" ทำให้รัสเซียและสหรัฐเป็น 2 ประเทศผู้นำทางด้านการสำรวจทางอวกาศ และการแข่งขั้นกันระหว่างทั้งคู่ได้เริ่มขึ้นในเวลาต่อมา


นักบินอวกาศ


นักบินอวกาศ


       นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป)หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก

       คำว่า นักบินอวกาศ ในภาษาไทย นั้น ตรงกับคำศัพท์ในภาษาอังกฤษ ว่าแอสโตรนอท (astronaut) ซึ่งมีความหมายอย่างที่กล่าวมา เป็นที่น่าสังเกตว่า คำว่า นักบินอวกาศ ไม่ได้มีความหมายเฉพาะผู้ที่เป็นนักบิน (pilot) เท่านั้น แต่มีความหมายอย่างที่อาจเข้าใจได้ง่ายๆ ว่า ลูกเรืออวกาศ นั่นเอง อย่างไรก็ตาม ในภาษาไทยยังมีคำศัพท์อีกคำ ที่มีความหมายเช่นนี้ นั่นคือ มนุษย์อวกาศ

       คำว่า แอสโตรนอท ในภาษาอังกฤษนั้น มีที่มาจากคำศัพท์ในภาษากรีก สองคำ คือ astro หมายถึงดวงดาว และ nautes ซึ่งหมายถึง กะลาสี

       ปัจจุบันมีนักบินอวกาศหลายชาติ จึงมีการสร้างคำสำหรับเรียกนักบินอวกาศของแต่ละชาติต่างๆ กัน เช่น นักบินในโครงการอวกาศของรัสเซีย เรียกว่า คอสโมนอท (cosmonaut) อันเป็นการสร้างคำจากคำศัพท์จากภาษากรีกเช่นกัน โดยใช้คำว่า kosmo ที่หมายถึง อวกาศ และคำว่า nautes ที่หมายถึง กะลาสี คล้าย

       ส่วนในยุโรป มีการสร้างศัพท์ขึ้นใหม่ ว่า สเปชันนอท (spationaut) เป็นคำประสม ระหว่าง space ในภาษาละติน (อวกาศ) และ nautes ในภาษากรีก (กะลาสี) โดยมีความหมายว่านักบินอวกาศ หรือมนุษย์อวกาศ นั่นเอง

       นอกจากนี้ยังมีคำว่า ไทโคนอท (Taikonaut) เป็นคำศัพท์ที่คิดขึ้นใหม่ เมื่อ เดือนพฤษภาคม ปี ค.ศ. 1998 โดยสื่อมวลชนชาวมาเลเซีย ชื่อ Chiew Lee Yih ซึ่งมาจากคำว่า ไท่คง (太空) ในภาษาจีน หมายถึง อวกาศ แต่ในภาษาจีนนั้น มีคำว่า อยู่หาง หยวน (宇航員, ต้นหนอวกาศ)ซึ่งใช้กันมานานในความหมายว่า นักบินอวอากาศและมนุษย์อวกาศ ในภาษาพูดทั่วไปจะใช้ว่า ไท่คงเหริน (太空人) มีความหมายว่ามนุษย์อวกาศนั่นเอง แต่ข้อความภาษาอังกฤษที่ทางการจีนใช้เรียกนักบินอวกาศของตน ยังคงใช้ว่า astronaut ตามปกติ

การสำรวจอวกาศ


การสำรวจอวกาศ


       การสำรวจอวกาศ คือการใช้วิทยาการด้านดาราศาสตร์และอวกาศเพื่อสำรวจและศึกษาห้วงอวกาศภายนอก การศึกษาอวกาศในทางกายภาพสามารถทำได้ทั้งโดยยานอวกาศที่ควบคุมโดยมนุษย์หรือโดยหุ่นยนต์

       การเฝ้าสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า หรือที่เรียกว่าวิชาดาราศาสตร์ ได้กระทำกันมานานดังปรากฏในบันทึกประวัติศาสตร์ ทว่าการใช้จรวดเชื้อเพลิงเหลวขนาดใหญ่ที่เริ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำให้การสำรวจอวกาศในทางกายภาพมีความเป็นจริงเป็นจังมากขึ้น ความก้าวหน้าในการสำรวจอวกาศเป็นผลจากงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำยุครวมถึงการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อความอยู่รอดในอนาคตของมนุษย์ชาติ ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างประโยชน์ในทางทหารหรือทางกลยุทธ์ที่เหนือกว่าประเทศอื่นๆ ในบางครั้งจึงมีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงประโยชน์ของการสำรวจอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายและความปลอดภัย

       ครั้งหนึ่งการสำรวจอวกาศเป็นประเด็นการแข่งขันที่สำคัญระหว่างขั้วอำนาจ เช่นในระหว่างสงครามเย็น การสำรวจอวกาศยุคใหม่ช่วงแรกเป็นการแข่งขันกันระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การส่งยานที่สร้างด้วยมนุษย์ออกไปโคจรรอบโลกได้เป็นครั้งแรกในดาวเทียมสปุตนิก 1 ของสหภาพโซเวียต เมื่อ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 และการพิชิตดวงจันทร์เป็นครั้งแรกของยานอพอลโล 11 ของสหรัฐอเมริกาเมื่อ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 โดยมากโครงการสำรวจอวกาศของโซเวียตจะสามารถบรรลุเป้าหมายเป็นครั้งแรกได้ก่อน ภายใต้การนำของ Sergey Korolyov และ Kerim Kerimov เช่นการส่งนักบินอวกาศออกไปนอกโลกได้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1961 (ยูริ กาการิน เป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลก) การออกเดินในอวกาศครั้งแรกใน ค.ศ. 1965 (อเล็กซี เลโอนอฟ) และการส่งสถานีอวกาศแห่งแรก (สถานีอวกาศซัลยูต 1) ในปี ค.ศ. 1971 อย่างไรก็ดี วัตถุชิ้นแรกที่สร้างโดยมนุษย์และออกไปถึงระดับอวกาศเป็นครั้งแรก คือจรวด V2 ของนาซีเยอรมนีที่ใช้ในช่วงแรกๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง




เครื่องมือและอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์


เครื่องมือและอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์


                    โดยทั่วไปเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทางดาราศาสตร์ นักดาราศาสตร์สามารถศึกษาสิ่งต่างๆ ในจักรวาลที่อยู่ไกลออกไป โดยอาศัยเครื่องมือและอุปกรณ์ที่แบ่งเป็น หลัก 6 ชนิดที่สำคัญๆ
เป็นกล้องโทรทรรศน์ชนิดแรกที่นักดาราศาสตร์ประดิษฐ์ขึ้นมากล้องชนิดนี้ประกอบด้วยลำกล้องหลาย อัน ซึ่งติดเลนส์ไว้ที่ปากกล้องตรงด้านหน้าและติดเลนส์ ขยาย ไว้ตรงส่วน ที่ตามองกาลิเลโอได้ประดิษฐ์กล้อง ชนิดนี้ เป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1609ทำให้สามารถ มองเห็นสภาพภูมิศาสตร์ ต่างๆบนดวงจันทร์อย่าง ชัดเจน เห็นจุด ดับบนดวงอาทิตย์หลักการทำงานของ กล้องชนิดนี้ก็คือแสงจากวัตถุที่อยู่ห่างไกลจะถูกรวมไว้ ที่กล้อง ตรงด้านหน้าแล้วนำไปสู่จุดโฟกัสเราเห็น ภาพนั้นจากส่วนที่ตามองเลนส์ที่ใช้กับกล้องชนิดนี้ เป็นเลนส์ นูนทั้งคู่
หลักการทำงานของกล้องชนิดนี้ก็คือ เราจะ ใช้กระจกเงาเว้าเพื่อรวมแสงก่อน แล้วมีกระจก เงาเล็กๆ หลายอันช่วยสะท้อนแสงไปยังแผ่น ภาพหรือสะท้อนแสงผ่านที่มองเข้าตาผู้ดูกล้อง ชนิดนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ของกระจกเงาเว้า ยาวถึง 200 นิ้ว (5.1 เมตร) ตั้งอยู่ที่ภูเขาพา โลมาร์แคลิฟอร์เนีย ในอเมริกา ขณะนี้มีกล้องโทร ทัศน์แบบสะท้อนแสง ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกขนาด 236 นิ้ว อยู่ที่หอดูดาวดาราศาสตร์ฟิสิกส์ สหภาพโซเวียต รัสเซียกล้องโทรทัศน์ชนิดใช้แสงขนาดใหญ่มัก ใช้เพื่อถ่ายรูปวัตถุบนท้อง ฟ้าที่อยู่ไกลเพียง 6-7 พันล้านปีแสง เฉพาะในเวลากลางคืนที่ท้องฟ้า ปลอดโปร่ง
แสงที่ส่องมาจากดวงดาวนั้น มีสีอยู่หลายสี ถ้าให้แสงนั้นผ่านแท่งแก้วปริซึม สีต่างๆ กันจะหัก เหเป็นมุมต่างๆ กันแสงที่ผ่านออกไปจะถูกแยกเป็น แถบสีต่างๆ สีที่ถูกแยกจะมีสีแดง, สีส้ม, สีเหลือง, สีเขียว, สีน้ำเงิน, สีคราม และสีม่วง แถบสีต่างๆ ที่ถูกแยกออกมานี้เรียกว่า สเปกตรัม (Spectrum) การศึกษาแถบสีของแสงทำให้นักดาราศาสตร์ สามารถบอกบางสิ่งบางอย่างของดาวดวงนั้นได้ เช่น เมื่อแสงดาวจากกล้องโทรทรรศน์ผ่านเข้าเครื่องสเปค โทรสโคปเราก็จะได้สเปคตรัมของดาวดวงนั้น สีทั้ง เจ็ดสีจากแดงถึง ม่วงนั้นจะมีเส้นมีคล้ำๆตัดกันอยู่ หลายเส้นทั้งนี้เพราะก๊าซต่างๆ ที่พื้นผิวของดาวดวง นั้น ถูกดูดซึมสีต่างๆ ได้ไม่เหมือนกันธาตุทางเคมี แต่ละธาตุทำให้เกิดเส้นสีคล้ำเหล่านั้นแบบต่างๆ กันจึงทำให้เราทราบได้ว่า ดาวแต่ละดวงมีธาตุอะไร อยู่บ้างนอกจากนี้แถบสีของแสงยังบอกอุณหภูมิ ของดาวฤกษ์แก่เราได้ด้วย ดาวฤกษ์ที่เย็นจะมีสีแดง ถ้าร้อนมากจะมีสีเหลืองสีน้ำเงิน และสีน้ำเงินขาว แถบสียังบอกให้เราทราบว่ากาแลคซี่อยู่ห่างจากโลก เราเท่าไหร่ได้ อีกด้วย
มนุษย์บนโลกรับรู้คลื่นวิทยุที่มาจากอวกาศ เป็นการบังเอิญครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1933 โดย Karl Jansky นักดาราศาสตร์ผู้ที่สร้างกล้อง โทรทรรศน์วิทยุที่มีจานโลหะโค้งขนาดใหญ่เพื่อ รวมคลื่นต่างๆ ที่มาจากอวกาศ การศึกษาจากคลื่น วิทยุทำให้เราทราบว่า ดาวดวงต่างๆประกอบด้วย อะไรบ้างเช่น ดาวบางดวงประกอบด้วยน้ำ, มีสาร มีพิษ ไซยาไนด์รวมอยู่ด้วยดาวบางดวงมีคลื่นวิทยุ แรงมากแสดงว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง บนดาวดวงนั้นอยู่ ตลอดเวลากล้องโทรทรรศน์ วิทยุที่มีชื่อเสียง ตั้งอยู่ที่เมือง Jodrell Bank ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีแผ่นโลหะโค้งเส้นผ่าน ศูนย์กลางใหญ่ถึง 76 เมตร


มาถึงยุคปัจจุบันเราศึกษาความลี้ลับของจักรวาล เพิ่มเติมอีก โดยการส่งดาวเทียม, ยานอวกาศชนิดต่างๆ ออกไป นอกโลก เพื่อศึกษารังสีต่างๆ ที่มาจากอวกาศ เช่น รังสีเอกซ์ รังสีอุลตรา ไวโอเลต รังสีอินฟาเรด เพราะการศึกษารังสี เหล่านี้ หาเราทำอยู่บนโลกจะทำ ให้ได้ไม่ดีเนื่องจากบรรยายกาศของโลกบังเอาไว้ แต่ในปัจจุบันเราก็ได้ความรู้และ ประโยชน์มากมาย จากยานอวกาศ


ฮักกินส์ (William Huggins) เป็นคนแรกที่ทำแล้ใช้อุปกรณ์นี้เมื่อ ค.ศ.1870 ต่อมาได้ถ่ายภาพสเปคตรัมจากดาวฤกษ์และบอก คุณสมบัติได้ว่า ดาวนั้นมีอุณหภูมิเท่าใดประกอบ ด้วยธาตุอะไร ในที่สุดเขาได้แบ่งดาวฤกษ์ตาม สเปคตรัมของมันเป็น 7 ลำดับ เรียงตามตัวอักษร ว่า O B A F G K M ซึ่งนำมาเข้าประโยด เพื่อจำง่ายว่า Oh! Be a Fine Girl Kiss Me. โดยการกำหนดลำดับของพวก O เป็นพวก สีน้ำเงิน-ขาว (Blue white Stars) มีอุณหภูมิที่ผิวราว 35,000 เคลวิน (Kelvin) ในแถบสเปคตรัมมีเส้นสว่างของไฮโดรเจน ตามลำดับ M มีสีส้มแดง อุณหภูมิที่ผิวราว 3,000 เคลวิน เป็นต้น


ที่มา : http://www.baanjomyut.com/library/2552/astronomical_instruments_and_equipment.html

นักดาราศาสตร์


เอ็ดวิน พาวเวลล์ ฮับเบิล (EDWIN POWELL HUBBLE) ค.ศ. 1889 - 1953

หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อ "กล้องดูดาวฮับเบิล" ซึ่งเป็นกล้องดูดาวที่ไม่ได้อยู่บนพื้นโลกของเรา แต่เป็นกล้องที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศรอบโลกของเรา โดยชื่อของกล้องดังกล่าวได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับเอ็ดวิน พาวเวลล์ ฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ในแวดวงนักดาราศาสตร์เป็นที่ทราบดีว่า ฮับเบิลเป็นผู้ที่เปลี่ยนความเข้าใจของนักดาราศาสตร์ทั้งหลายในเรื่องธรรมชาติของเอกภพ โดยฮับเบิลได้แสดงให้เห็นว่ายังมีกาแล็กซีอื่นๆ อีก



เอดวาร์ด อีเมอร์สัน บาร์นาร์ด (EDWARD EMERSON BARNARD) ค.ศ. 1857 - 1923

เอดวาร์ด อีเมอร์สัน บาร์นาร์ด หรือ อี. อี. บาร์นาร์ด เป็นนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นนักสังเกตการณ์ที่เด่นที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของดาราศาสตร์ ว่ากันว่าเขาดูดาวเก่งและขยันไม่แพ้วิลเลียม เฮอร์เชล ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสเลยทีเดียว อี. อี. บาร์นาร์ดเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1857 ในครอบครัวยากจนแห่งเมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี ความยากจนทำให้เขาต้องอดมื้อกินมื้ออยู่เสมอ



โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริซ เกาส์ (JOHANN CARL FRIEDRICH GAUSS) ค.ศ. 1777 - 1855

ในแวดวงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นที่ทราบกันดีว่า เกาส์ได้รับการยกย่องว่าเป็น "เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" โดยเฉพาะทฤษฎีจำนวนที่เกาส์ได้ค้นพบในขณะที่มีอายุเพียง 21 ปี ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากผลงานด้านคณิตศาสตร์แล้ว เกาส์ยังได้นำเสนอผลงานเด่นในอีกหลายๆ ด้านอาทิเช่น ดาราศาสตร์ ภูมิมาตรศาสตร์(geodesy) และ แสง



เซอร์ ไอแซค นิวตัน (SIR ISAAC NEWTON) ค.ศ. 1642 – 1727

ไอแซค นิวตัน เป็นนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกชาวอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และปรัชญา โดยในยุคเดียวกัน นิวตันเป็นผู้ที่สร้างผลงานที่โดดเด่นมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล กฎการเคลื่อนที่ คณิตศาสตร์แคลคูลัส และทฤษฎีด้านแสง ข้อแตกต่างของนิวตันที่ต่างจากนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนๆ คือ นิวตันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความพิถีพิถันในการทำงาน การทำการทดลองของนิวตันจะมีระเบียบแบบแผน


คริสเตียน ไฮเกนส์ (CHRISTIAAN HUYGENS) ค.ศ. 1629 - 1695

จากการที่บิดารับราชการในระดับสูง ฐานะของครอบครัวไฮเกนส์จึงอยู่ในระดับที่มั่งคั่ง โดยในวัยเยาว์ไฮเกนส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นส่วนตัว ณ ที่บ้านพัก ซึ่งสอนโดยบิดาของเขาและคุณครูส่วนตัว จากนั้นในปี 1645 เมื่ออายุได้ 16 ปี ไฮเกนส์เข้าศึกษาสาขาวิชากฎหมายและคณิตศาสตร์ที่เมืองไลเดนและต่อมาในปี 1947 ได้เข้าศึกษาสาขาวิชากฎหมาย ณ วิทยาลัยกฎหมายแห่งเมืองเบรดา โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิชากฎหมายในปี 1655 จากนั้นไฮเกนส์ได้หันเหความสนใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น



จิโอวานนิ โดมีนิโค แคสซีนี (GIOVANNI DOMENICO CASSINI) ค.ศ. 1625 - 1712

คสซีนีเป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ วิศวกร และนักโหราศาสตร์ชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองเปอร์รินัลโด ใกล้กับซานรีโม ซึ่ง ณ เวลานั้นอยู่ในสาธารณะรัฐเจนัว หลังจากที่แคสซีนีย้ายไปยังฝรั่งเศสเพื่อทำงานด้านดาราศาสตร์ให้กับราชสำนักสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แคสซีนีได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ฌองน์ โดมินิก แคสซีนี" แคสซีนีเป็นคนแรกในตระกูลแคสซีนีที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ หอดูดาว ณ กรุงปารีส จึงถูกเรียกว่า Cassini I



โจฮันเนส เคปเลอร์ (JOHANNES KEPLER) ค.ศ. 1571 – 1630

คปเลอร์เกิดในครอบครัวที่ยากจน บิดาของเคปเลอร์มีอาชีพเป็นทหารรับจ้าง และได้จากครอบครัวไปร่วมรบในสงครามที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ในขณะที่เคปเลอร์มีอายุได้ 5 ขวบ โดยไม่ได้กลับคืนสู่มาตุภูมิอีกเลย มารดาของเคปเลอร์เป็นบุตรสาวของเจ้าของโรงแรมเล็กๆในเมือง ในวัยเยาว์ เคปเลอร์มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง โดยอายุได้ 4 ขวบ เคปเลอร์ป่วยเป็นไข้ทรพิษ ทำให้สายตาไม่ดีและมือพิการไปข้างหนึ่ง แต่เคปเลอร์เป็นเด็กที่มีความเฉียวฉลาด



กาลิเลโอ กาลิเลอี (GALILEO GALILEI) ค.ศ. 1564 – 1642

กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี ได้สร้างผลงานสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ โดยกาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่ใช้คณิตศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ทางธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุด กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสำรวจและทดลองทางดาราศาสตร์ ซึ่งผลงานด้านดาราศาสตร์ได้ส่งผลให้กาลิเลโอต้องเผชิญหน้ากับศาสนจักร ในประเด็นที่กาลิเลโอได้ทำการทดลอง และสนับสนุนแนวความคิดของโคเปอร์นิคัส


ทิโค บราห์ (TYCHO BRAHE) ค.ศ. 1546 – 1601

ทิโค บราห์ นักดาราศาตร์ชาวเดนมาร์ก ได้สร้างผลงานทางดาราศาสตร์ไว้มากมาย โดยเฉพาะบันทึกตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้าที่ทิโคได้บันทึกไว้ร่วม 40 ปี ซึ่งบันทึกดังกล่าวเปรียบเสมือนมรดกอันล้ำค่าที่โยฮันเนส เคปเลอร์ (ผู้ซึ่งเป็นผู้ช่วยของทิโค) ได้ครอบครองหลังจากทิโคได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันและเป็นการเสียชีวิตที่เป็นปริศนาจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการฆาตกรรมหรือการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน รวมไปถึงข้อสงสัยที่ว่าเคปเลอร์ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของทิโคหรือไม่



นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (NICOLAUS COPERNICUS) ค.ศ. 1473– 1543


ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 วิถีความคิดของชาวยุโรปในยุคนั้นถูกครอบงำด้วยอิทธิพลทางความคิดของกลุ่มบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก และกลุ่มปรัชญาอนุรักษ์นิยมที่เชื่อในความคิดของอริสโตเติล ความเชื่อมโยงระหว่างสองกลุ่มดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อศาสนาจักรได้แต่งตั้งกลุ่มนักบวชเยซูอิตขึ้น เพื่อทำงานด้านปัญหาทางวิทยาศาสตร์และสั่งสอนประชาชนตามที่ศาสนาจักรยอมรับ



คลอดิอุส ปโตเลมี (CLAUDIUS PTOLEMAEUS) ค.ศ. 90 – 168

โตเลมีเป็นนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ (ค.ศ. 90 – 168) ปโตเลมีเป็นชาวกรีกโดยกำเนิด แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ อัตชีวประวัติส่วนตัวของปโตเลมีมีการบันทึกไว้น้อยมากและไม่ชัดเจน ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ปโตเลมีมากที่สุด ได้แก่ ชุดประมวลความรู้คณิตศาสตร์ด้านดาราศาสตร์ ที่เรียกว่า "Mathematical Syntaxis" ซึ่งมีจำนวน 13 เล่ม