เอ็ดวิน พาวเวลล์ ฮับเบิล (EDWIN POWELL HUBBLE)
ค.ศ. 1889 - 1953
หลายๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินชื่อ "กล้องดูดาวฮับเบิล"
ซึ่งเป็นกล้องดูดาวที่ไม่ได้อยู่บนพื้นโลกของเรา แต่เป็นกล้องที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรในอวกาศรอบโลกของเรา
โดยชื่อของกล้องดังกล่าวได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติให้กับเอ็ดวิน พาวเวลล์ ฮับเบิล
นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้ในแวดวงนักดาราศาสตร์เป็นที่ทราบดีว่า
ฮับเบิลเป็นผู้ที่เปลี่ยนความเข้าใจของนักดาราศาสตร์ทั้งหลายในเรื่องธรรมชาติของเอกภพ
โดยฮับเบิลได้แสดงให้เห็นว่ายังมีกาแล็กซีอื่นๆ อีก
|
|
เอดวาร์ด อีเมอร์สัน บาร์นาร์ด (EDWARD EMERSON
BARNARD) ค.ศ. 1857 - 1923
เอดวาร์ด อีเมอร์สัน บาร์นาร์ด หรือ อี. อี. บาร์นาร์ด เป็นนักดาราศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นนักสังเกตการณ์ที่เด่นที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของดาราศาสตร์
ว่ากันว่าเขาดูดาวเก่งและขยันไม่แพ้วิลเลียม เฮอร์เชล
ผู้ค้นพบดาวยูเรนัสเลยทีเดียว อี. อี. บาร์นาร์ดเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1857 ในครอบครัวยากจนแห่งเมืองแนชวิลล์ มลรัฐเทนเนสซี
ความยากจนทำให้เขาต้องอดมื้อกินมื้ออยู่เสมอ
|
|
โยฮันน์ คาร์ล ฟรีดริซ เกาส์ (JOHANN CARL
FRIEDRICH GAUSS) ค.ศ. 1777 - 1855
ในแวดวงวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นที่ทราบกันดีว่า เกาส์ได้รับการยกย่องว่าเป็น
"เจ้าชายแห่งคณิตศาสตร์" โดยเฉพาะทฤษฎีจำนวนที่เกาส์ได้ค้นพบในขณะที่มีอายุเพียง
21 ปี ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน
นอกจากผลงานด้านคณิตศาสตร์แล้ว เกาส์ยังได้นำเสนอผลงานเด่นในอีกหลายๆ
ด้านอาทิเช่น ดาราศาสตร์ ภูมิมาตรศาสตร์(geodesy) และ แสง
|
|
เซอร์ ไอแซค นิวตัน (SIR ISAAC NEWTON) ค.ศ. 1642 – 1727
ไอแซค นิวตัน
เป็นนักวิทยาศาสตร์เอกของโลกชาวอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นฟิสิกส์
คณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และปรัชญา โดยในยุคเดียวกัน นิวตันเป็นผู้ที่สร้างผลงานที่โดดเด่นมากที่สุด
ไม่ว่าจะเป็นกฎแรงดึงดูดระหว่างมวล กฎการเคลื่อนที่ คณิตศาสตร์แคลคูลัส
และทฤษฎีด้านแสง ข้อแตกต่างของนิวตันที่ต่างจากนักวิทยาศาสตร์รุ่นก่อนๆ คือ นิวตันเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความพิถีพิถันในการทำงาน
การทำการทดลองของนิวตันจะมีระเบียบแบบแผน
|
|
คริสเตียน ไฮเกนส์ (CHRISTIAAN HUYGENS) ค.ศ. 1629 - 1695
จากการที่บิดารับราชการในระดับสูง ฐานะของครอบครัวไฮเกนส์จึงอยู่ในระดับที่มั่งคั่ง
โดยในวัยเยาว์ไฮเกนส์ได้รับการศึกษาอย่างเป็นส่วนตัว ณ ที่บ้านพัก ซึ่งสอนโดยบิดาของเขาและคุณครูส่วนตัว
จากนั้นในปี 1645 เมื่ออายุได้ 16
ปี ไฮเกนส์เข้าศึกษาสาขาวิชากฎหมายและคณิตศาสตร์ที่เมืองไลเดนและต่อมาในปี
1947 ได้เข้าศึกษาสาขาวิชากฎหมาย ณ
วิทยาลัยกฎหมายแห่งเมืองเบรดา โดยสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกในสาขาวิชากฎหมายในปี
1655 จากนั้นไฮเกนส์ได้หันเหความสนใจในวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น
|
|
จิโอวานนิ โดมีนิโค แคสซีนี (GIOVANNI DOMENICO
CASSINI) ค.ศ. 1625 - 1712
คสซีนีเป็นนักคณิตศาสตร์ นักดาราศาสตร์ วิศวกร
และนักโหราศาสตร์ชาวอิตาเลียน เกิดที่เมืองเปอร์รินัลโด ใกล้กับซานรีโม ซึ่ง ณ
เวลานั้นอยู่ในสาธารณะรัฐเจนัว หลังจากที่แคสซีนีย้ายไปยังฝรั่งเศสเพื่อทำงานด้านดาราศาสตร์ให้กับราชสำนักสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แคสซีนีได้เปลี่ยนชื่อเป็น "ฌองน์
โดมินิก แคสซีนี" แคสซีนีเป็นคนแรกในตระกูลแคสซีนีที่ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ
หอดูดาว ณ กรุงปารีส จึงถูกเรียกว่า Cassini I
|
|
โจฮันเนส เคปเลอร์ (JOHANNES KEPLER) ค.ศ. 1571 – 1630
คปเลอร์เกิดในครอบครัวที่ยากจน
บิดาของเคปเลอร์มีอาชีพเป็นทหารรับจ้าง และได้จากครอบครัวไปร่วมรบในสงครามที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ในขณะที่เคปเลอร์มีอายุได้ 5 ขวบ โดยไม่ได้กลับคืนสู่มาตุภูมิอีกเลย มารดาของเคปเลอร์เป็นบุตรสาวของเจ้าของโรงแรมเล็กๆในเมือง
ในวัยเยาว์ เคปเลอร์มีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง โดยอายุได้ 4 ขวบ
เคปเลอร์ป่วยเป็นไข้ทรพิษ ทำให้สายตาไม่ดีและมือพิการไปข้างหนึ่ง
แต่เคปเลอร์เป็นเด็กที่มีความเฉียวฉลาด
|
|
กาลิเลโอ กาลิเลอี (GALILEO GALILEI) ค.ศ. 1564 – 1642
กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลี
ได้สร้างผลงานสำคัญทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และดาราศาสตร์
โดยกาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกๆ ที่ใช้คณิตศาสตร์ในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ
ทางธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุด กาลิเลโอเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่ใช้กล้องโทรทรรศน์ในการสำรวจและทดลองทางดาราศาสตร์
ซึ่งผลงานด้านดาราศาสตร์ได้ส่งผลให้กาลิเลโอต้องเผชิญหน้ากับศาสนจักร ในประเด็นที่กาลิเลโอได้ทำการทดลอง
และสนับสนุนแนวความคิดของโคเปอร์นิคัส
|
|
ทิโค บราห์ (TYCHO BRAHE) ค.ศ. 1546 – 1601
ทิโค บราห์ นักดาราศาตร์ชาวเดนมาร์ก ได้สร้างผลงานทางดาราศาสตร์ไว้มากมาย
โดยเฉพาะบันทึกตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้าที่ทิโคได้บันทึกไว้ร่วม 40 ปี ซึ่งบันทึกดังกล่าวเปรียบเสมือนมรดกอันล้ำค่าที่โยฮันเนส
เคปเลอร์ (ผู้ซึ่งเป็นผู้ช่วยของทิโค) ได้ครอบครองหลังจากทิโคได้เสียชีวิตลงอย่างกระทันหันและเป็นการเสียชีวิตที่เป็นปริศนาจนถึงปัจจุบันว่าเป็นการฆาตกรรมหรือการเสียชีวิตอย่างกระทันหัน
รวมไปถึงข้อสงสัยที่ว่าเคปเลอร์ได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของทิโคหรือไม่
|
|
นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส (NICOLAUS COPERNICUS)
ค.ศ. 1473– 1543
ในคริสต์ศตวรรษที่ 16
วิถีความคิดของชาวยุโรปในยุคนั้นถูกครอบงำด้วยอิทธิพลทางความคิดของกลุ่มบุคคล
2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มคริสตจักรโรมันคาทอลิก และกลุ่มปรัชญาอนุรักษ์นิยมที่เชื่อในความคิดของอริสโตเติล
ความเชื่อมโยงระหว่างสองกลุ่มดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อศาสนาจักรได้แต่งตั้งกลุ่มนักบวชเยซูอิตขึ้น
เพื่อทำงานด้านปัญหาทางวิทยาศาสตร์และสั่งสอนประชาชนตามที่ศาสนาจักรยอมรับ
|
|
คลอดิอุส ปโตเลมี (CLAUDIUS PTOLEMAEUS) ค.ศ. 90 – 168
โตเลมีเป็นนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ (ค.ศ. 90 – 168) ปโตเลมีเป็นชาวกรีกโดยกำเนิด
แต่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ อัตชีวประวัติส่วนตัวของปโตเลมีมีการบันทึกไว้น้อยมากและไม่ชัดเจน
ผลงานที่สร้างชื่อเสียงให้ปโตเลมีมากที่สุด ได้แก่ ชุดประมวลความรู้คณิตศาสตร์ด้านดาราศาสตร์
ที่เรียกว่า "Mathematical Syntaxis" ซึ่งมีจำนวน
13 เล่ม
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น